EIC ชี้สงครามรัสเซียลากยาว ฉุดจีดีพีดิ่งเหลือ 1.3% เงินเฟ้อทะลุ 6.3%

0 Comments

อีไอซีปรับประมาณการจีดีพีปี’65 จาก 3.2% เหลือ 2.7% ชี้สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อรุนแรง-แซงก์ชั่นลากยาวถึงสิ้นปี ฉุดจีดีพีกรณีเลวร้ายดิ่งเหลือ 1.3% เงินเฟ้อทะลุ 6.3% แนะภาครัฐดูแลครัวเรือนรายได้น้อย-เน้นทำแบบจุด ๆ อย่าทำหน้ากระดาน ทยอยปรับราคาพลังงานตามต้นทุนจริง ด้านนโยบายการเงิน คาด กนง.คงดอกเบี้ย 0.50% ตลอดทั้งปี เงินบาทขยับอ่อนค่าช่วงสั้น 34 บาทต่อดอลลาร์ มั่นใจสหรัฐยังไม่เกิดภาวะ Recession

วันที่ 29 มีนาคม 2565 ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า อีไอซี ได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2565 ลดลงจากเดือน ธ.ค. 64 ที่คาดว่าจะขยายตัว 3.2% เหลือ 2.7%

สงครามยืดเยื้อ-รุนแรงกดจีดีพีโตต่ำ 1.3%
โดยการปรับประมาณการจีดีพu แบ่งเป็น 2 สมมุติฐาน ในกรณีพื้นฐาน (Base Case) ขยายตัว 2.7% ภายใต้ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยืดเยื้อออกไปอีก 3 เดือน สามารถจบภายในครึ่งหลังของปีนี้ แต่ยังคงมีมาตรการคว่ำบาตร (แซงก์ชัjน) ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ส่งผลให่ราคาปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยไปพีกสุด ๆ ในไตรมาสที่ 2 และปรับดลงมาหลังจากนั้น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 4.9%

ส่วนกรณีเลวร้าย (Worst Case) ภายใต้สถานการณ์สงครามรัสเซียทวีความรุนแรง โดยมีการใช้อาวุธ และขยายวงกว้างไปสู่ประเทศอื่น ๆ มาตรการแซงก์ชั่นลากยาวถึงปี 2566 ทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 133 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้อัตราเนเฟ้อขยายตัวสูงต่อเนื่องไปอยู่ที่รัดับ 6.3% ซึ่งจะกระทบต่ออัตราการเติบโตจีดีพีอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดการณ์จีดีพีจะขยายตัวเพียง 1.3%

ดังนั้น จากปัจจัยความเสี่ยงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้เท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ในช่วงต้นปี-กลางปีในปี 2566 จะเลื่อนล่าช้าออกไปเป็นไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ที่เศรษฐกิจจะกลับมาเท่าเดิม

“คีย์แมสเซสที่เราเริ่มเห็นในการประมาณการจีดีพีครั้งก่อน คือ ก่อนสงครามรัสเซียและยูเครน เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว และสถานการณ์โควิด-19 เริ่มเบาบางลง ยกเว้นจีนที่ยังมีมาตรการ Zero COVID ทำให้เรามองว่าจีดีพีน่าจะบวกเพิ่มได้เล็กน้อยจากโอมิครอนคลี่คลายเร็วกว่าคลาด แต่หลังจากมีประเด็นสงครามเข้ามา ซึ่งกระทบต่อการต่อใช้จ่ายและบริโภคในประเทศ จากราคาน้ำมันแพง และส่งออก ทำให้การเติบโตลดลง และเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

โดยเราเข้าข่ายสู่ภาวะ Stagflation แต่ยังไม่ได้เต็มรูปแบบ เพราะเศรษฐยังไม่ได้ติดลบ แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะกำลังซื้อที่กระทบกลุ่มคนระดับกลางและล่าง กระทบต่อทั้งรายได้ที่แท้จริง และแนวโน้มการจ้างงาน ภาคธุรกิจประสบปัญหาต้นทุนวัตถุดิบ จำเป็นต้องชะลอการจ้างแรงงานใหม่หรือลดการจัางงาน และชะลอลงทุนออกไป”

 

หั่นจำนวนนักท่องเที่ยวเหลือ 5.7 ล้านคน
และจากสถานการณ์สงครามรัสซีย-ยูเครนได้กระทบไทยผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1.ภาคการท่องเที่ยว 2.การส่งออก 3.การลงทุน และ 4.อัตราเงินเฟ้อ โดยในส่วนของภาคการท่องที่ยว จะเห็นว่าไทยมีการเปิดประเทศมากขึ้นผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น การลดข้อจำกัดการตรวจ RT-PCR หรือการจับคู่ท่องเที่ยว (Travel Bubble) และสัญญาณนักท่องเที่ยวในเดือน มี.ค.จะเห็นว่าประเทศสิงคโปร์เข้ามามากขึ้น แม้ว่านักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรปลดลง แต่เชื่อว่านักท่องเที่ยวในกลุ่มเอเวียจะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น และมาช่วยชดเชยนักท่องเที่ยวที่หายไปได้บ้างส่วน

ดังนั้น จากภาพรวมปัจจัยที่กล่าวมาส่งผลให้อีไอซีปรับประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวเหลือ 5.7 ล้านคน จากเดิมมองอยู่ที่ 5.9 ล้านคน และคาดการณ์รายได้จากภาคการท่องเที่ยวจะอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท แม้ว่าจะน้อยเมื่อเทียบกับปี 2563 ช่วงก่อนโควิด-19 ที่มีรายได้ 1.9 ล้านล้านบาท

เงินเฟ้อทั้งปีพุ่ง 4.9% กระทบครัวเรือนรายได้น้อย
สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ไทยและสหรัฐที่สะท้อนไปยังเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ปรับขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง ทั้งในเรื่องของค่าจ้างแรงงาน และการส่งผ่านเงินเฟ้อไปยังราคาสินค้า

โดยล่าสุดตัวเลขเงินเฟ้อของไทย ณ เดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 5.3% และเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.8% ได้ส่งผลต่อราคาอาหารปรับเพิ่มขึ้นจาก 430 รายการ เพิ่มอีก 260 รายการ ซึ่งจะกระทบต่อการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคในครวเรือนที่มีรายได้น้อย ซึ่งจากตัวเลขจะพบว่าสัดส่วนครัวเรือนรายได้น้อยมีการบริโภคอาหารและพลังงานมีสัดส่วนสูงถึง 50% สูงเมื่อเทียบกับรายได้ที่มีรายได้สูงมัสัดส่วนการบริโภคอาหารแลพลังงานเพียง 36%

“เงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น สะท้อนผลกระทบไปยังครัวเรือนระดับล่างสุด ส่วนหนึ่งรายได้ก็ไม่ได้กลับมาเต็มที่และเจอภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น จะเห็นว่าตัวเลขรายได้ค่าแรงในส่วนของ กทม. -10.3% เมื่อเทียบกับรายได้ที่แท้จริงของทั้งประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ -0.7% ส่งผลให้อีไอซีคาดเงินเฟ้อทั้งปีน่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4.9%”

แนะรัฐทำมาตรการเป็นจุด อย่าทำหน้ากระดาน
เมื่อถามถึงมาตรการลดค่าครองชีพ 10 มาตรการภาครัฐ มองว่า มาตรการถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว ซึ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือเรื่องของราคาพลังงานที่แพงขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เหมาะสม และจะประกาศทยอยลดปรับให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เหมาะสม ถือเป็น 2 หลักการที่ถูกต้อง แต่ยังคงไม่เพียงพอ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันค่อนข้างสูง ภายใต้เศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

ดังนั้น ภาครัฐมีบทบาทเพิ่มเติมในการดูแลผู้มีรายได้น้อย โดยมีข้อเสนอ 3 ด้าน คือ 1.ให้การช่วยเหลือเฉพาะจุด ทำแบบจุด ๆ แต่ที่มากขึ้น เช่น ในกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย และกลุ่มขนส่งสาธารณะ โดยใช้ข้อมูลรอบด้านในการประเมิน 2.ทำให้ราคาอยู่ในระดับเหมาะสม หรือทำแบบ Manage Float ไม่ควรทำแบบหน้ากระดาน เพื่อนำเม็ดเงินไปใช้ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และ 3.การปรับโครงสร้างการใช้พลังงานให้มีความยั่งยืน

กนง.คงดอกเบี้ย-บาทอ่อนค่าระยะสั้นแตะ 34 บาท
ดร.ยรรยงกล่าวต่อไปว่า สำหรับนโยบายการเงินของไทย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (RP) 0.50% ตลอดทั้งปี แต่จะดูตามข้อมูลเศรษฐกิจ (Data Dependent) เนื่องจากกนง.ให้ความสำคัญและน้ำหนักกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่าเงินเฟ้อ และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูง หากมีการปรับดอกเบี้ยสูงขึ้นจะเป็นการสร้างภาระต้นทุน และอาจจำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ และปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยเชื่อว่าปัญหาเงินเฟ้อ กนง.จะดูข้อมูลจากเงินเฟ้อคาดการณ์ข้างหน้าว่าจะปรับสูงระดับใด

ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาท ประเงินว่า ในระยะสั้นยังคงเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่า โดยได้รับแรงกดดันจากการขาดทุนบัญชีเดินสะพัดและความเชื่อมั่นที่ลดลง และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น โดยจะเห็นเงินบาทอ่อนค่าในกรอบ 33.50-34.00 บาทต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ดี จากจำนวนหนักท่องเที่ยวที่จะทยอยเข้ามาในช่วงปลายปี และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทำให้เงินบาทขยับแข็งค่าเล็กน้อยอยู่ในกรอบ 32.50-33.50 บาทต่อดอลลาร์

ยันสหรัฐไม่เกิด Recession
สำหรับนโยบายการเงินของธนาคารสหรัฐที่เร็วขึ้นและเงินเฟ้อเร่งตัวสูงนั้น จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) หรือไม่นั้น มองว่า หลังจากคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 7 ครั้ง โดยในเดือน พ.ค.และ มิ.ย.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.50% และธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งมาอยู่ที่ 0.75% และคาดว่าจะขึ้นอีก 3 ครั้ง มาอยู่ที่ 1.75% ส่วนธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เดินหน้าลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และคาดว่าปลายปีจะขึ้นดอกเบี้ย

หากดูในส่วนของนโยบายการเงินของสหรัฐ เชื่อว่าคงไม่ได้เกิดเศรษฐกิจถดถอยในเร็ว ๆ นี้ โดยจะเห็นว่าส่วนต่างดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปี และ 2 ปี ทยอยกลับเข้ามาปกติ หลังจากภาวะเกิด Inverted Yield Curve ทั้งนี้ หากดูภาวะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยบอนด์ระยะสั้นสูงกว่าบอนด์ระยะยาวในช่วงที่ผ่านมาที่เกิดภาวะ Recession จะเห็นว่าต้องใช้เวลาหลังจากนั้นถึง 17 เดือน ดังนั้น เชื่อว่าคงไม่ 100% ที่จะเกิดภาวะ Recession แม้ว่าเฟดจะทำนโยบายการเงินที่เร่งและเร็วก็ตาม

อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance