ออมสินร่วมกับ UNDP เดินหน้าโครงการธนาคารขยะชุมชน
ธนาคารออมสิน และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันในการส่งเสริมการบูรณาการการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงการจัดการขยะมูลฝอยในระดับชุมชน
ทั้งนี้ การจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ท้าทายที่สุด ซึ่ง “การแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมเพื่อจัดการขยะธนาคาร (The Innovative Solutions for Community Waste Bank)” เป็นความคิดริเริ่มระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ธนาคารออมสิน คาร์กิลล์ ประเทศไทย และดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่พยายามหาแนวทางแก้ไขเชิงนวัตกรรมเพื่อเร่งแก้ไขปัญหานี้ผ่านการบูรณาการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลและการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ส่งผลให้ระบบการจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นเมืองตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลที่สวยงามของประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่สาธิตของโครงการ โดยขยะอินทรีย์และขยะที่ไม่ใช่อินทรีย์เป็นปัญหาหลักในด้านเชิงสิ่งแวดล้อมอันมีผลพวงมาจากกิจกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจ และวิถีการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในชุมชนท้องถิ่น
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ได้กล่าวไว้ว่า โครงการธนาคารขยะชุมชนที่ริเริ่มโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในรูปแบบของ SDGs Station ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารในการขับเคลื่อนภารกิจเพื่อตอบสนองต่อหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล การธนาคารที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบเพื่อสนับสนุน SDGs นอกจากนี้ ธนาคารออมสินเชื่อว่า โครงการธนาคารขยะชุมชนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างการจัดการปัญหาขยะในชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งธนาคารมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยมีชุมชนระดับรากหญ้าเป็นกลุ่มลำดับความสำคัญ การมีสถานีเพื่อส่งเสริมกระบวนการจัดการเชิงนวัตกรรมในการสร้างขยะมูลค่าเพิ่มจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความตระหนักรู้ภายในชุมชน และในขณะเดียวกันเป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในส่วนอื่นๆ ของประเทศ
ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นก้าวสำคัญสู่ความร่วมมือระยะยาวระหว่างโครงการพัฒนาแห่งชาติและธนาคารออมสิน เพื่อร่วมกันสร้างแนวทางแก้ปัญหารับมือในด้านสภาพภูมิอากาศและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้น อีกทั้งปรับปรุงเมืองให้ยั่งยืนและน่าอยู่ ซึ่งล้วนเป็นส่วนสำคัญในการเดินหน้าบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย
อ้างอิง
https://m.mgronline.com/stockmarket